สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อประสบการ์ณ Cold Call และเสียงตอบรับพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังจะมา

Cold Calling คือ การโทรหาคนแปลกหน้าเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นเทคนิคการขายที่เคยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในอดีต แต่อาจถึงคราวอวสานในปีนี้หรือไม่ ? หลังการมาถึงของพรบ.

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะมีผลบังคับใช้ 27 พฤษภาคมนี้ ที่จะบังคับให้องค์กรต่างๆต้องขอข้อมูลตรงจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น, ต้องขอความยินยอมก่อนเก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูล บทความนี้มีความคิดเห็นมากมายจากผู้บริโภคมาบอกค่ะ

บางส่วนจากใจผู้บริโภคที่พิมพ์ตอบมาในแบบสอบถาม

โค้งสุดท้าย 3 เดือนก่อนพรบ.ออก ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า

  • 82% ของผู้บริโภคกลุ่มนี้เคยได้รับโทรศัพท์ หรือ SMS จากแบรนด์หรือบริษัทที่ไม่เคยให้ข้อมูลเลย
    • 49% ประมาณไม่เกินเดือนละ 1-5 ครั้ง
    • 21% ได้รับสัปดาห์ละ 1- 5 ครั้ง
    • 12% ได้รับมากกว่าวันละ 1 ครั้ง
  • มี 18% เท่านั้นที่ไม่เคยได้รับเลย

กว่าครึ่งไม่เคยซื้อเลย !

  • 51% ไม่เคยซื้อเลย
  • อีก 31% บอกว่าโอกาสซื้อต่ำกว่า 10%
  • โอกาสซื้อที่มากกว่า 10% (10-100%) รวมกันทั้งหมดมีแค่ 17%
  • ที่น่าแปลกใจ คือ คนที่ไม่เคยได้รับสายเลย ก็ยังตัดสินใจที่จะไม่ซื้อถึง 49% เช่นกัน

แล้วถ้ามีพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลล่ะ ?

Awareness

  • 61% ของผู้บริโภครู้เกี่ยวกับพรบ.
  • 39% ยังไม่ทราบเกี่ยวกับพรบ.นี้เลย

Acceptance

  • ผู้บริโภคเห็นด้วยมาก ( ในอัตรา 9 .1 จาก 10 ) ว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสำคัญและเป็นของส่วนตัว ไม่ควรมีการนำไปขาย หรือ ใช้เพื่อการค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • เห็นด้วยมากกับพรบ.นี้ ( ในอัตรา 9 จาก 10) เท่าๆกันในทุกกลุ่มอาชีพ
  • อายุที่มากขึ้นทำให้เห็นด้วยมากขึ้น ตามเทรนด์คือผู้ที่เห็นด้วยน้อยสุดคืออายุต่ำกว่า 20 ปี (นักศึกษา) และผู้ที่เห็นด้วยมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี และ 60 ปีขึ้นไป
  • 68% คิดว่าพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลนี้ให้ประโยชน์มากกว่าโทษ,
    30% ไม่แน่ใจ และมีเพียง 2% ที่เห็นว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์

ถ้าเลือกได้

  • 49% บอกว่าจะไม่ยินยอมแน่นอนที่จะให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของเค้า (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง)
  • 48% บอกจะอ่านรายละเอียดก่อนการยินยอม ถ้าเป็นประโยชน์ก็โอเค
  • มีเพียง 2% ที่จะยินยอมแน่นอน

มี Segment หนึ่งที่มีคำตอบเด่นชัดกว่ากลุ่มอื่นๆ

ผู้บริหารระดับสูง กว่า 90% เคยเลือกที่จะไม่ยินยอมให้ใช้ข้อมูล แต่ส่วนใหญ่ก็ยังได้รับโทรศัพท์หรือ SMS เสนอขายสินค้า/บริการมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน โอกาสในการซื้อส่วนมากไม่เกิน 10% ส่วนใหญ่ซื้อของออนไลน์บ่อยมากกว่า เป็นสมาชิกที่ต่างๆเยอะมากที่สุด แต่ท่านไม่ชอบกรอกข้อมูลรายได้ ไม่อ่านเงื่อนไขยาวๆ และ มักเลือกที่จะไม่ยินยอมให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูล ถึงแม้จะยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพรบ.นี้เลยจึงไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับบทลงโทษ แต่ก็เห็นประโยชน์มากกว่าโทษ และมีโอกาสสูงถึง 80% ที่จะใช้สิทธิ์จากพรบ.ใหม่ คือ คัดค้านการเก็บข้อมูล

คำเหล่านี้ผู้บริโภคพิมพ์ออกมาเองในคำถามปลายเปิด และ มี 4 แนวความคิดเห็นหลัก

  • 3% รำคาญการโทรมาขายของทั้งที่ไม่เคยให้เบอร์
  • 2% อยากให้ประชาสัมพันธ์พรบ.เพิ่ม ให้ผู้บริโภคเข้าใจสิทธิ์ของตน
  • 3% อยากให้บังคับใช้เร็วๆ
  • 3% อยากให้องค์กรต่างๆปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

การที่ผู้บริโภคให้การตอบรับกับพรบ.นี้เป็นอย่างดี หมายถึงความคาดหวังต่อองค์กรในการเคารพสิทธิ์ หมายถึงการที่องค์กรทำได้ดีเรื่องนี้ จะดึงคะแนนใจจากผู้บริโภคได้มาก หากธุรกิจยังคงต้องขายสินค้าทางโทรศัพท์อยู่ อาจต้องปรับตัวในการใช้ข้อมูล และวิธีการทำการตลาดเป็น Inbound Marketing แทน หรือมีการ Soft Approach ไปทางช่องทางอื่นๆก่อนเพื่อขอ Consent ในการติดต่อ

มีข่าวดีนะคะ ที่ผู้บริโภคยังมีช่องทางไว้ให้เราติดต่อ ก็คือ Email นั่นเอง !
และหากว่าเราเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็น First Party Data เพื่อประมวลผลเอง ไม่ได้มีการนำข้อมูลไปขายหรือเปิดเผยให้กับแบรนด์อื่นๆ ก็น่าจะไม่มีปัญหาใดๆเลยค่ะ

จากผลสำรวจ kNOW ของบริษัท Analytist ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดาต้าและการวิจัยทางดิจิตัล ที่ได้สำรวจกับผู้บริโภคชาวไทย 500 คนผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ สำรวจช่วงวันที่ 11-22 ก.พ. 2563 คือ ช่วงเวลาก่อนที่พรบ.จะบังคับใช้จริง 3 เดือน โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหา Awareness และ Acceptance ของการมีพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึง Attitude และ Understanding เพื่อเป็นการช่วยองค์กรต่างๆในการเตรียมความพร้อมต่อความคาดหวังที่กำลังจะเกิดในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ข้อมูลกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม

อายุ :
กว่า 80% เป็นเจน X และ Y ที่อายุ 30-49 ปี
10% อายุ 20-29 ปี และ 7% อายุ 50-59 ปี
อีก 1% ต่ำกว่า 20 ปี และ 1% 60 ปีขึ้นไป

อาชีพ :
50% เป็นพนักงานบริษัทเอกชน, 24% อาชีพอิสระ,
10% เป็นเจ้าของกิจการ, 10% รับราชการ,
2% เป็นผู้บริหารระดับสูง และ 1% นักศึกษา

ที่อยู่ :
เป็นชาวกทม 58%
และอีก 12 จังหวัดทั่วไทย อาทิ เช่น เชียงใหม่, นครสวรรค์, ระยอง, สงขลา, นครปฐม, เชียงราย เป็นต้น

พฤติกรรมการบริโภค :
กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 64% ช็อปออนไลน์มากกว่า 10 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา และ 64% มีการสมัครบัตรสมาชิก/บัตรต่างๆที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว 1-10 ครั้ง

เรายังมีบทความเกี่ยวกับ PDPA ที่น่าสนใจอีกมาก คลิกอ่านได้เลยค่ะ

มาร่วมกัน Building insightful decision-making culture
หากคุณกำลังวางแผนสิ่งใด จงใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อมูล ? ปรึกษาพวกเราได้ค่ะ

CONTACT US
Have fun discovering !
Analytist Team

Share

Related Posts