วางแผนอย่างไรให้ใช้ข้อมูลเป็นประโยชน์

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงาน หรือการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน นั้นเราให้ความสำคัญกับเรื่องของ Data หรือข้อมูลสถิติที่ (ถ้าวางแผนได้ดี) สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ไม่น้อย

เรียกได้ว่านักการตลาดปัจจุบัน ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ตั้งคำถาม และผู้ตอบคำถามที่สำคัญสำหรับหลายๆ มุมในธุรกิจ แต่คำถามเหล่านี้อาจจะไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน ไม่ทันท่วงที หรือไม่ถูกต้องเท่าไหร่หากเป็นการ ‘ประมาณการณ์’ หรือ ‘คาดเดา’ จากข้อมูลที่เราเรียบเรียงมาได้ด้วยวิธีต่างๆ โดยไม่ได้มีการวางแผน หรือสร้างกลยุทธ์การเก็บและนำข้อมูลมาใช้ให้ดี

และเราจะทราบได้อย่างไรว่า Data ที่เราเก็บสะสมนั้นสมบูรณ์แบบ และมีการนำมาวิเคราะห์หรือทำ Analytics ได้อย่างเหมาะสม? มีการวางแผน หรือสร้างกลยุธ์ข้อมูล Data Strategy ที่ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน?

กลยุทธ์ข้อมูล 360 องศา หรือ กลยุทธ์ข้อมูลครบวงจร จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กัน…

แต่ก่อนจะเข้าเรื่อง ขอตอบเรื่องที่หลายๆ คนอาจสงสัยกันอยู่

“ทำไมต้องมีการวางกลยุทธ์อะไรให้ยุ่งยาก? ถ้าเราใช้ข้อมูลแบบเดิมทุกวัน ก็เก็บต่อไปสิ ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี…ไม่ใช่เหรอ?”

ไม่เชิง…

ในแต่ละวันนั้น มีทั้งข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากทั้งภายใน และภายนอก ข้อมูลประเภทใหม่ๆ ข้อมูลในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลเก่าเก็บ (ที่ไม่ได้ถูกใช้) ข้อมูลหมดอายุ (ใช้ไม่ได้แล้ว) หรือจะอีกหลายๆ ประเภทของข้อมูลที่นักการตลาดอย่างเราต้องคำนึงถึง “อยู่ตลอดเวลา”

การมีข้อมูลเยอะ หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ก็มีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียไม่น้อยเหมือนกัน เพราะเก็บต่อเนื่องนานๆ ก็แปลว่าเราอาจจะมีข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ นำมาใช้ไม่ได้ นำมาใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์ หรือประมวณผลแล้วทำให้ผลลัพธ์ผิดเพี้ยน

ยังไม่นับรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สินค้าประเภทใหม่ๆ ช่องทางการซื้อ-ขายที่ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ พฤติกรรมของผู้บริโภค หรือการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกรวมทั้งคู่แข่ง เทคโนโลยี นโยบายรัฐ และสภาวะรวมของตลาด และเศรษฐกิจที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่

โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คงไม่ต้องมองไปไกลมากก็เห็นสิ่งนี้ได้ในธุรกิจของคุณ เพราะฉะนั้นการเก็บข้อมูลแบบเดิมๆ ต่อไปเรื่อยๆ คงใช้ไม่ได้แน่ๆ

หลายๆ คนอาจจะคิดว่า “ระบบ” ที่ดี จะช่วยเราได้เยอะ ทั้งการเบาแรง ‘คน’ และเบาแรง ’เวลา’ สองสิ่งซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ระบบยิ่งดี มีประสิทธิภาพสูง ยิ่งช่วยทำงานแทนเราได้มาก อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณในระยะยาวอีกด้วย

แต่ “ระบบที่ดี” ก็ไม่ใช่ทุกอย่าง และยังไม่สามารถเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ข้อมูลของคุณ

เลยจะขอชวนทุกคนมารู้จักกับการสร้างกลยุทธ์การเก็บและนำข้อมูลมาใช้ให้เข้ากับโลกปัจจุบัน (และอนาคต) ที่หากปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง มีโอกาสทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ข้อมูล 360 ที่ดี ควรคำนึงถึง 6 สิ่งนี้

  1. วางแผนให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ
  2. วางแผนเรื่องคน และทีมงานที่เกี่ยวข้องกับ Data
  3. การดูแลข้อมูล การปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท และของรัฐบาล
  4. การวางแผนเพื่อความแข่งขันที่สูง และเผื่ออนาคต
  5. ความเหมาะสมของโครงสร้างเทคโนโลยี และระบบที่นำมาใช้งาน

พร้อมแล้ว? มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย

1. การวางแผนให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ

 

มาเริ่มที่ข้อแรกกันก่อน ธุรกิจหรือหน่วยงานทำงานกับ Data หรือข้อมูลนั้นควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับตามธุรกิจที่ดำเนินการอยู่  เราควรทำความเข้าใจกันก่อนว่าเป้าหมายของธุรกิจของเรานั้นคืออะไร ต้องการนำข้อมูลมาใช้เพื่อแก้ปัญหาส่วนไหนของธุรกิจ รวมถึงความถี่ของการเก็บข้อมูลรูปแบบต่างๆ ที่นำมาใช้เสนอ หรือต้องนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ให้กับใครบ้าง

  • เป้าหมายของธุรกิจคุณคืออะไร และโจทย์ในการใช้ข้อมูลคืออะไร
  • ข้อมูลที่นำมาใช้ สามารถตอบโจทย์ และสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจได้มากเท่าไหร่
  • มีข้อกำหนดอะไรบ้างในธุรกิจของคุณบ้าง สามารถเก็บข้อมูลได้ทุกรูปแบบหรือไม่
  • หากธุรกิจของคุณมีเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ควรสร้างกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้คงปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา
  • งบประมาณหรือการลงทุนด้าน Data เป็นส่วนสำคัญแค่ไหน (เดี๋ยวเราจะมาพูดถึงเรื่องนี้ต่อในอีกบทความ “Setting a budget for your data project”)

2.เรื่องคน และทีมงานที่เกี่ยวข้อง

หลังจากที่เข้าใจเป้าหมายในการเก็บข้อมูลแล้ว เราจึงจะทราบได้ว่าบุคคล หรือทีมไหนในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลบ้าง แทนที่จะแบ่งเป็นผู้บริการ หน่วยงานไอที ทีมการตลาด

เราอาจจะแบ่งเป็น ผู้บริหาร(ข้อมูล) ผู้เก็บข้อมูล ผู้วิเคราะห์-ประมวณผลข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูล โดยหน้าที่ของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป และเข้าใจได้ไม่ยากนัก

  • ขอบเขตการมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Data สำหรับแต่ละคน และแต่ละทีมต้องชัดเจน
  • บุคลากรปัจจุบันมีความเข้าใจใน Data Analytics หรือ Data Science เพียงพอหรือไม่
  • ต้องการเทรนนิ่ง เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และความสามารถ ในส่วนไหนอีกบ้าง
  • การนำบุคลากร หรือทีมงานที่เข้าใจ Data เข้ามาช่วยจะทำให้เกิดผลเร็วขึ้นไหม

แต่ไม่ได้แปลว่าจะมีเพียงแต่บุคคลหรือทีมเหล่านี้ที่ต้องเข้าใจ หรืออาจะได้ประโยชน์จากข้อมูลที่เรานำมาวิเคราะห์และใช้ สิ่งที่ดีที่สุดคือให้พยายามส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ Data ในทุกๆ ภาคส่วน โดยไม่จำกัดด้วยหน้าการงานที่หรือตำแหน่งของเขา (อ่านเรื่องนี้ต่อได้ที่ https://www.analytist.co/blog/data-driven-culture/)

3.การดูแลข้อมูล การปฏิบัติตามนโยบายและกฏหมายต่างๆ

พอเราเข้าใจเป้าหมาย และเรื่องคนแล้ว ก็ควรกำหนดให้ทุกๆ หน่วยงานทราบและเข้าใจถึงขอบเขตในการปฏิบัติงานด้าน Data นั่นแปลว่า การเก็บ-การเข้าถึง-การประมวณผล-การใช้ ควรเป็นไปในทางที่สมบูรณ์ปลอดภัย และตามนโยบายของบริษัท และข้อกำหนดหรือกฏหมายต่างๆ ของภาครัฐ

  • นโยบายของบริษัทได้ครอบคลุมถึงการใช้ข้อมูลแล้วหรือไม่และเป็นไปตามกฏหมาย
  • มีการนำข้อกำหนดและกฏหมาย (เช่น พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA) มาปรับใช้แล้วหรือยัง
    (อ่านเรื่องนี้ต่อได้ที่ https://www.analytist.co/blog/pdpa-ready/)
  • Business process ในปัจจุบัน (รวมถึงในอนาคตที่อาจมีการกำหนดขึ้นมา) ได้ออกแบบโดยมีการพิจารณาถึง ‘การใช้ข้อมูล’ แล้วหรือไม่
  • ข้อมูลถูกบันทึก และอนุญาตให้เข้าถึงอย่างปลอดภัยหรือไม่ มีขั้นตอน เครื่องมือ หรือมาตรฐานอะไบ้างในการรับรองสิ่งเหล่านี้
  • พนักงานเข้าใจ ปฏับัติตามนโยบายอย่างถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้อย่างละเอียด
  • จำเป็นต้องมีคณะกรรมการ หรือตัวแทนผู้ดูแลความถูกต้องของการใช้ข้อมูลหรือไม่

อย่าลืมว่าการดูแลข้อมูลให้ดีนั้นสำคัญไม่แพ้การนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้บริหารและทีมงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากๆ และสร้างข้อกำหนดพร้อมกับวิธีการปฏิบัติตามที่ทำงานได้จริง และมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เพราะทำได้ 99% ก็ยังไม่ถูกต้อง 100%

4.การวางแผนเพื่อความแข่งขันที่สูง และเผื่ออนาคต

แค่นี้เราก็พร้อมจะนำ Data มาใช้ให้สร้างประโยนช์แล้วใช่ไหม (ใกล้แล้ว!) กลับไปที่ข้อแรกเรื่องเป้าหมายธุรกิจก็อาจจะเห็นได้ว่า การสร้างกลยุทธ์ที่สมบูรณ์ต้องมีความยืนหยุ่น เพื่อตอบโจทย์การแข่งขันในปัจจุบัน และการแข่งขันที่สูงขึ้นในอนาคต กลยุทธ์ของเราก็ควรตอบสิ่งเหล่านี้ได้ด้วย

  • ข้อมูลที่นำมาใช้ช่วยให้เราพัฒนาสู้กับคู่แข่งได้ดีแค่ไหน
  • มีข้อมูลอะไรที่คู่แข่งไม่มี (และไม่สามารถมีได้ด้วย)
  • มีข้อมูลอะไรที่เราสามารถนำมาใช้ได้อีกบ้าง (ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง)
  • ข้อมูลที่เก็บสามารถนำมาใช้ประโยนชน์ในอนาคตหรือไม่
  • มีรูปแบบข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหรือเปล่า
  • กลยุทธ์ได้ถูกออกแบบเพื่ออนาคต และรูปแบบหรือโมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่

พวกเราหลายๆ คนอาจเข้าใจกันว่า “ข้อมูลที่นำมาใช้ได้ไว” มักได้เปรียบ แต่ข้อมูลที่ถูกวางแผนให้ใช้ได้ต่อเนื่อง และยาวไปไกลถึงอนาคต ก็อาจได้เปรียบไม่แพ้กัน

5.โครงสร้าง เทคโนลีโย และระบบที่นำมาใช้งาน

มาถึงข้อสุดท้ายของบทความนี้ (เก็บไว้ท้ายสุด แต่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ นะ!) การวางแผนโครงสร้างของข้อมูล (Data Architecture) เทคโนโลยี หรือระบบ (System) ที่จะนำมาใช้งาน จะทำได้ก็ต่อเมื่อเราได้เข้าใจและตอบได้ทุกคำถามในข้างต้นแล้ว เพราะเป็นเหมือนกับการสร้างข้อกำหนดให้กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ (ส่วนมากมักจะเป็นแผนก IT หรือไม่ก็เป็นทีม Business Tranformation) 

ที่นี้จะเริ่มตรงไหนดี อาจเริ่มพิจารณาจากคำถามเหล่านี้ก็ได้:

  • ธุรกิจเรามีการเก็บข้อมูลแบบไหนบ้าง จากแหล่งข้อมูลอะไรบ้าง
  • มีข้อมูลประเภทไหน ปริมาณเท่าไหร่ และมีความเกี่ยวข้องกันในรูปแบบใดบ้าง
  • ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยขนาดไหน และต้องรองรับการประมวณผลเร็วแค่ไหน
  • ต้องมีการเชื่อมต่อ หรือ integrate กับระบบอะไรบ้าง ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
  • บุคลากรที่ดูแลเรื่องระบบพื้นฐาน (Infrastructure) และการใช้ข้อมูล (Data Governance, Analytics) มีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่
  • ระบบที่จำเป็นคือแค่ระบบหลังบ้าน หรือระบบหน้าบ้านก็สำคัญไม่แพ้กัน
  • มีความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบที่ใหม่ที่สุด มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดหรือไม่
  • มีความต้องการ หรือมีเป้าหมายอะไรที่ยังไม่ชัดเจน ณ ปัจจุบัน (Future Planning)

หากเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เราก็สามารถเริ่มเห็นภาพกลยุทธ์ข้อมูลที่ครบถ้วน และครบวงจรได้ดีขึ้น Data Architecture และระบบ จึงถือว่าไม่ใช่หัวใจแต่เป็นเส้นเลือกที่สำคัญไม่แพ้กันในความสำเร็จของธุรกิจคุณ (เดี๋ยวเราจะมาพูดถึงเรื่องนี้ต่อในอีกบทความ “Setting a budget for your data project”)

สำหรับคนที่พร้อมจะนำสิ่งนี้ไปใช้แล้ว ขั้นตอนถัดไปอาจเป็นการเริ่มศึกษาธุรกิจคุณให้เข้าใจแต่ละประเด็นอย่างละเอียด และลองร่างกลยุทธ์คร่าวๆ เพื่อมาปรึกษาเราก็ได้

ไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าถึงแต่ละประเด็นต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงในวันนี้

อย่างไรขอฝากให้ทุกๆ คนไม่ลืมว่าธุรกิจจะสำเร็จได้ก็ด้วยการวางแผนที่ดี

มาร่วมกัน Building insightful decision-making culture
หากคุณกำลังวางแผนสิ่งใด จงใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อมูล ? ปรึกษาพวกเราได้ค่ะ

CONTACT US
Have fun discovering !
Analytist Team

Share

Related Posts