ในโลกที่หมุนเร็วแบบปัจจุบัน นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจ มีทางเลือกมากมายในการลงทุน แต่เวลาในการเลือกเฟ้นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดนั้นก็สั้นลงเรื่อยๆ ด้วยการแข่งขันที่สูง และเพื่อให้ทันท่วงทีกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค  ผู้บริหารที่มีประสบการ์ณยาวนาน ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ประสบการ์ณในการตัดสินใจ ว่าเคยทำสิ่งใดแล้วได้ผลกว่าสิ่งใด แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีว่าในปีหลังๆนี้ บางสิ่งที่เคยได้ผล กลับไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว เท่ากับประสบการ์ณช่วยในการตัดสินใจได้เป็นบางครั้งเท่านั้น นั่นก็เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมการเสพสื่อ การเลือกซื้อ การซื้อซ้ำ ที่เปลี่ยนแปลงแทบจะตลอดเวลา

แต่การที่โลกเปลี่ยนไว ไม่ได้เป็นเรื่องร้ายเสมอไปในด้านที่ดีคือ ทำให้ผู้บริหาร, CMO, นักการตลาดมีเครื่องมือทำงานที่ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ทุ่นแรงลงเรื่อยๆ และก็วัดผลได้แม่นยำ ทันใจมากขึ้นเรื่อยๆด้วยเช่นกัน

จึงเป็นเรื่องดีที่สุด ถ้าทุกคนใช้ข้อมูลที่ปัจจุบันที่สุดเท่าที่จะหาได้ มา support การตัดสินใจให้แม่นยำมากขึ้น บวกกับความรู้และประสบการ์ณที่ผ่านมา ประมวลออกมาเป็นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและทรงพลังกว่าที่เคย และแน่นอน นำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อสร้างรายได้เพิ่มหรือลดอัตราการสูญเสีย

นั่นก็คือ Data Driven Culture นั่นเอง
โดย Forrester’s report มีการศึกษามาแล้วว่าองค์กรที่มี Data-driven culture นั้น สามารถทำให้บริษัทเติบโตได้ในอัตรา 30% ต่อปี และภายในปี 2021 องค์นั้นเหล่านั้นมีโอกาสทำยอดได้สูงถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

นอกเหนือไปจากการมี Tools ที่ช่วย Track และ Analyze ข้อมูล การมีพนักงานหรือ Analytics Consultant ช่วยในการกลั่นข้อมูลแล้วนั้น
มาเช็คกันว่าตัวคุณเองหรือองค์กรที่คุณดูแลอยู่นี้ มีระดับความเป็น Data Driven กี่เปอร์เซ็นต์ ?

  • Epistemic Curiosity = 25%
    ทุกระดับขององค์กรนั้น ควรมี  Epistemic Curiosity  คือ ความกระหายในความรู้อย่างเข้มข้นลงลึก ความกระหายในความรู้อันก่อแรงจูงใจอยากค้นพบแนวคิดใหม่ๆ และแก้ปัญหาด้วยปัญญา มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า cognitive curiosity, intellectual curiosity, scientific curiosity

ไม่ว่าสถานะของบริษัทจะอยู่ใน Stage ใด ควรมีการตั้งข้อสงสัย หรือ Hypothesis อยู่เสมอว่าทำอย่างไรเราจะทำสิ่งต่างๆให้ดียิ่งขึ้น  ให้ลูกค้าพึงพอใจยิ่งขึ้น ให้ลดต้นทุนได้อย่าง ไม่มีผลเสียกับการบริการ โดยเฉพาะการตัดสินใจสำคัญๆ ควรสงสัยเสมอ ว่าจะแน่ใจได้กี่เปอร์เซ็นต์ว่า นี่คือ Solution ที่ดีที่สุด
“หากความสงสัยทำให้คุณเป็นสุข” ให้คะแนนตัวเองหรือองค์กรของคุณตรงนี้เลย 25% ค่ะ

  • Data Accessibility = 25%
    หากเรามีความสงสัย แต่ไม่มีทางเข้าถึงข้อมูล หรือเข้าถึงได้แต่ไม่ง่าย และใช้เวลามากเกินไป หากองค์กรต้องการสร้าง Data-driven culture อย่างจริงจัง  ควรเริ่มจากข้อนี้ก่อนเลย คือ ทุกระดับสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ที่ช่วยให้ความสงสัยถูกนำไปต่อยอดได้ ที่ช่วยให้กระจ่าง ที่ช่วยให้สนับสนุนการตัดสินใจ ยิ่งข้อมูลอัพเดท Real time แค่ไหน ก็ยิ่งทำให้การตัดสินใจแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น
  • Data Automation = 25%
    ต่อเนื่องมาถึงข้อนี้ หากเรามีการเข้าถึง Data แต่เป็น Raw data ไม่มีระบบประมวลผลออกมาเป็นตัวเลขที่ใช้งานได้จริง ก็ไม่ประโยชน์ และหากยังต้องเปิด 10 โปรแกรมเพื่อเอา Data มา Cross กันเพื่อประมวลผล เป็นกิจกรรมที่จำเป็น แต่เสียเวลามาก สมมุติว่าพนักงาน 1 คนในบริษัท ต้องทำกิจกรรมรวบรวมข้อมูลนี้ วันละ 1 ชม. ทุกวันทำงาน เท่ากับต่อปีเราใช้ 260 ชั่วโมง หรือ 1 เดือนเต็มๆในการประมวลผล   1 เดือนจากทั้งหมด 12 เดือนเลยนะคะ ฉะนั้นองค์กรควรลงทุนในการทำ Data Automation เพื่อช่วยให้การ Transform to Data-driven culture นั้นประสบความสำเร็จได้โดยไม่ไปกินเวลาทำงานอื่นๆ เพราะงานทุกงานก็สำคัญ หากมีเวลา Data แต่ไม่มีเวลาทำงานที่ Add Value ให้กับองค์กรเลย ก็คงไม่ดีแน่

สรุปข้อดีของ Automation คือ

    1. คืนเวลาทำงานให้กับพนักงานที่ต้องทำ manual report
    2. ลด human ( manual ) error
    3. เพิ่ม Unity เพราะทุกคนเห็น Dashboard ตัวเดียวกัน
    4. ช่วยลด Conflict เพราะคุยกันด้วยเหตุผลและตัวเลข มากกว่าการคาดเดาและอารมณ์
    5. แก้ปัญหาได้ทันเวลา เพราะข้อมูลพร้อมใช้ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุก็แก้ทัน
  • Data is mentioned before decisions are made = 25%
    ทุกการตัดสินใจ ต้องมีการสนับสนุนด้วย Data เสมอ  ข้อนี้เขียนสั้น ดูเหมือนว่าง่าย แต่ทำไม่ง่ายนะคะ แต่ขอย้ำว่าสำคัญมากๆ เพราะจะช่วยลดระยะเวลาในการประชุม โดยเฉพาะเรื่องสำคัญๆที่มีผลต่อธุรกิจมาก หากต้องใช้การคาดเดาและประสบการ์ณล้วนๆในการตัดสินใจ สังเกตได้เลยว่าประชุมนั้นจะยาวนานมาก เพราะหาข้อตกลงที่ทุกคนเห็นตรงกันได้ยาก เนื่องจากประสบการ์ณของ C-suite ก็มาจากต่างที่ ต่างเวลา แต่ถ้าตัดสินใจบนข้อมูลเดียวกันก็จะหาข้อสรุปร่วมกันได้ง่ายขึ้น

หากใครได้ 100% เราขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
ใครยังไม่ครบ ก็รออีกไม่นานนักค่ะ ทุกบริษัทก็ต้องปรับตัวให้ครบอยู่ดีค่ะ

หากสนใจอ่านหัวข้อนี้ต่อ เรามี Case Studies ขององค์ที่ทำสำเร็จในการ Transform สู่ Data-driven อย่างแท้จริง คือ Airbnb  มาเล่าให้ฟัง

มาร่วมกัน Building insightful decision-making culture
หากคุณกำลังวางแผนสิ่งใด จงใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อมูล ? ปรึกษาพวกเราได้ค่ะ

Contact us
Have fun discovering !
Analytist Team

Share