เราเรียนรู้อะไรได้จากเรื่องนี้ บทความนี้มีคำตอบ

จากที่มีการแชร์ในวงกว้างเมื่อในวันที่ 29 ก.พ. 63
เกี่ยวกับความกังวลของผู้บริโภคต่อเงื่อนไขของประกัน COVID-19 ที่ทางธนาคาร K
Bank นั้นได้มอบให้กับลูกค้า K PLUS
ว่ามีความไม่โปร่งใสและเก็บใช้ข้อมูลเกินจำเป็น
จนทำให้เกิดกระแสลบต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก

ตัวอย่างคอมเมนท์บนเพจของธนาคาร

ทางธนาคารไม่ได้นิ่งนอนใจ ทำการแก้ไขเงื่อนไขข้อดังกล่าวทันทีภายใน 8
ชั่วโมง ซึ่งถือว่ารวดเร็วมาก และยังมีการขยายความคุ้มครองประกันที่แจกฟรีจาก
30 วันเป็น 90 วัน เพื่อเป็นการยืนยันความตั้งใจที่จะมอบประกันชีวิต COVID-
19ให้กับลูกค้า K PLUS ฟรี และยึดมั่นการรักษาความเป็นส่วนตัว
และความลับของข้อมูลลูกค้าเป็นสำคัญ

ข้อกำหนด และเงื่อนไขของการลงทะเบียนรับสิทธิ์ในตอนแรก
ที่ทำให้เกิดความกังวลจากผู้บริโภคในส่วนของการเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่น,
การเก็บข้อมูล Sensitive Data เช่น ความคิดเห็นทางการเมือง,
การเปิดเผยข้อมูลต่อองค์กรอื่นๆมากมายโดยไม่ได้ระบุว่าเป็น
องค์กรใดบ้างและมีจุดประสงค์ใดบ้าง รวมถึงการที่มีการโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ


ข้อกำหนด และเงื่อนไขของการลงทะเบียนรับสิทธิ์ที่มีการแก้ไขแล้ว
ถอดรหัสจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือ
เงื่อนไข ไม่ใช่แค่ตัวหนังสือเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครใส่ใจอีกต่อไป

  • เงื่อนไข เปลี่ยนใจผู้บริโภคได้
  • เงื่อนไข ทำให้ความรู้สึกดีต่อแบรนด์เปลี่ยนไปได้
  • เงื่อนไข อาจทำให้แคมเปญสั่นคลอนได้

ผู้บริโภคชาวไทยเข้าใจ และตระหนักเรื่อง Data Privacy มากขึ้นแล้ว

  • ผู้บริโภค ตั้งข้อสงสัย ถึงความสมเหตุสมผลในการเก็บข้อมูลไปใช้
  • ผู้บริโภค ตั้งข้อสงสัย ถึงระยะเวลาในการเก็บข้อมูล

ไม่ต้องรอกฎหมายบังคับใช้
ผู้บริโภคก็สามารถออกมาเรียกร้องสิทธิ์ที่พึงได้รับ

หากแบรนด์ หรือ องค์กรที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลจำนวนมาก
แต่ยังเลือกที่จะเพิกเฉยต่อ Data protection & Privacy
อาจไม่ต้องรอให้ PDPA มาจับปรับเป็นมูลค่าหลักสูงสุดไม่กี่ล้านบาท

แต่ความเสียหายอาจมาจากการที่ผู้บริโภคคัดกรองทางเลือกที่ปลอดภัยให้กับตัวเอง
ส่งผลต่อธุรกิจมากกว่าค่าปรับอีกหลายเท่าตัว

มาร่วมกัน Building insightful decision-making culture
หากคุณกำลังวางแผนสิ่งใด จงใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อมูล ? ปรึกษาพวกเราได้ค่ะ

CONTACT US
Have fun discovering !
Analytist Team

Share

Related Posts