จากสถิติและผลสำรวจของไทยและทั่วโลก
จากที่มีเคส Data Privacy โด่งดังมากมายใน 1-2 ปีก่อน ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวกันมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยและสิทธิ์ส่วนบุคคลในข้อมูล ปีนี้ทาง We are Social จึงทำการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม ผลคือเมื่อเทียบกับชาวโลกแล้ว ชาวไทยมีการช็อปออนไลน์และใช้อินเตอร์เน็ตในอัตราที่สูงมากเป็นอันดับต้นๆของโลก และมีความใส่ใจเรื่องการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดสูงถึง 59% สอดคล้องกับการสำรวจที่ Analytist ได้จัดทำไปเกี่ยวกับเรื่องพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลเดือน JAN 2020 ชาวไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์ต่อวันมากถึง 9 ชั่วโมง และเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
ข้อมูลเดือน JAN 2020 ชาวไทยซื้อของออนไลน์เป็นอันดับที่ 2 ของโลก
82% ของกลุ่มตัวอย่างมีการซื้อของออนไลน์ภายในเดือนที่ผ่านมา
ข้อมูลเดือน JAN 2020
59% ของชาวไทยกังวลเรื่องที่องค์กรนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด (เป็นอันดับที่ 33 ของโลก)
อาจไม่ได้สูงเป็นอันดับต้นๆเหมือนกับที่เราใช้งานเป็นอันดับต้นๆของโลก
แต่ถ้าดูจากเปอร์เซ็นต์ 59% หรือประมาณ 3 ใน 5 คน ก็นับว่าไม่น้อยเลย
สอดคล้องกับข้อมูลจากผลสำรวจ kNOW ของบริษัท Analytist ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดาต้าและการวิจัยทางดิจิตัล ที่ได้สำรวจกับผู้บริโภคชาวไทย 500 คนผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ สำรวจช่วงวันที่ 11-22 ก.พ. 2563 คือ ช่วงเวลาก่อนที่พรบ.จะบังคับใช้จริง 3 เดือน โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหา Awareness และ Acceptance ของการมีพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึง Attitude และ Understanding เพื่อเป็นการช่วยองค์กรต่างๆในการเตรียมความพร้อมต่อความคาดหวังที่กำลังจะเกิดในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า
Awareness
- 61% ของผู้บริโภครู้เกี่ยวกับพรบ. และในกลุ่มนี้มี
- 12 % ที่ศึกษาข้อมูลแล้ว
- 49% ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลเลย
- 39% ยังไม่ทราบเกี่ยวกับพรบ.นี้เลย
Acceptance
- ผู้บริโภคเห็นด้วยมาก ( ในอัตรา 9 .1 จาก 10 ) ว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสำคัญและเป็นของส่วนตัว ไม่ควรมีการนำไปขาย หรือ ใช้เพื่อการค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- เห็นด้วยมากกับพรบ.นี้ ( ในอัตรา 9 จาก 10) เท่าๆกันในทุกกลุ่มอาชีพ
- อายุที่มากขึ้นทำให้เห็นด้วยมากขึ้น ตามเทรนด์คือผู้ที่เห็นด้วยน้อยสุดคืออายุต่ำกว่า 20 ปี (นักศึกษา) และผู้ที่เห็นด้วยมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี และ 60 ปีขึ้นไป
- 68% คิดว่าพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลนี้ให้ประโยชน์มากกว่าโทษ,
- 30% ไม่แน่ใจ และมีเพียง 2% ที่เห็นว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์
- 78% ยังไม่ทราบว่าบทลงโทษทางอาญา คือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาทและ/หรือ จำคุกสูงสุด 1 ปี
- 57% เข้าใจถูกต้องว่าพรบ.บังคับให้บริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง
- 45% ตอบว่า สิทธิ์ที่คิดว่าจะใช้แน่นอนเมื่อมีพรบ.นี้ คือ คัดค้านการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้และเปิดเผย
ถ้าเลือกได้
- 49% บอกว่าจะไม่ยินยอมแน่นอนที่จะให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของเค้า (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง)
- 48% บอกจะอ่านรายละเอียดก่อนการยินยอม ถ้าเป็นประโยชน์ก็โอเค
- มีเพียง 2% ที่จะยินยอมแน่นอน
แล้วถ้าทำเงื่อนไขยาวๆนี่จะอ่านกันจริงหรือไม่ ?
- ที่ผ่านมาส่วนใหญ่อ่านเงื่อนไขกันคร่าวๆประมาณ 50% และอีกส่วนอ่านแค่ 20%
- ที่อ่านโดยละเอียดครบถ้วน มี 18%
- และมีอยู่ 13% ไม่เคยอ่านเลย
ข้อมูลใดบ้างที่ผู้บริโภคไม่ชอบกรอก
รู้ไว้ เพื่อนักการตลาดจะได้เลือกถามเฉพาะที่จำเป็นและผู้บริโภคไม่รังเกียจ
- ส่วนข้อมูลที่พอกรอกได้ (แต่ก็ไม่ได้ชอบกรอก) คือ ชื่อ นามสกุล, อีเมล, การศึกษา, อาชีพ และวันเดือนปีเกิดค่ะ
- ข้อมูลที่ไม่ชอบกรอกมากที่สุด คือ รายได้ ( โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง )
- รองลงมาคือเบอร์โทรศัพท์ และ ที่อยู่ ( น่าจะเกิดจากการขอบ่อยและซ้ำซ้อนมากเกินไป)
- เลขบัตรประชาชนก็มาแรงมาก
มี Segment หนึ่งที่มีคำตอบเด่นชัดกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ ผู้บริหารระดับสูง ส่วนใหญ่ไม่ชอบกรอกข้อมูลรายได้ ไม่อ่านเงื่อนไขยาวๆ และ มักเลือกที่จะไม่ยินยอมให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูล ถึงแม้จะยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพรบ.นี้เลยจึงไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับบทลงโทษ แต่ก็เห็นประโยชน์มากกว่าโทษ มีโอกาส 80% ที่จะใช้สิทธิ์ในการคัดค้านการเก็บข้อมูล
และหากสินค้าหรือบริการของเรามีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร ถ้าไม่จำเป็นก็ควรเลิกถามเรื่องรายได้ โดยเฉพาะการขายออนไลน์ เพราะจากการสำรวจนี้ ผู้บริหารระดับสูงกว่า 40% ซื้อของออนไลน์สูงที่สุดสูงกว่าทุกกลุ่ม และมากกว่า 20 ครั้งต่อปี
สรุป
ผู้บริโภคส่วนมากรู้เกี่ยวกับพรบ.นี้แต่ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูล แต่ก็สนับสนุนการมีพรบ. และเห็นประโยชน์มากกว่าโทษ เกือบครึ่งตอบว่าสิทธิ์ที่คิดว่าจะใช้แน่นอนเมื่อพรบ.มีผล คือ คัดค้านการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้และเปิดเผย คาดว่าเกิดจากประสบการ์ณที่ไม่ดีที่โดนติดต่อจากองค์กรที่ตนไม่ได้ให้ข้อมูล โดยเฉพาะในกลุ่มที่โดนบ่อยจะยิ่งมีการต่อต้าน
แต่ส่วนใหญ่อ่านเนื้อหาเงื่อนไขกันคร่าวๆ ประมาณ 50% ไม่ได้อ่านทั้งหมด
ข่าวร้าย คือ มีครึ่งนึงที่อาจตัดสินไม่ให้ Consent โดยไม่สนใจเงื่อนไข ซึ่งหากแบรนด์ทำให้กลุ่มนี้ผิดหวังอาจเสียลูกค้าไปได้ง่ายๆเลย
ข่าวดี ก็คือ มีอีกครึ่งนึงที่สนใจอ่านเงื่อนไข หากเราทำให้ดูโปร่งใส น่าเชื่อถือ หรือ มีสิ่งจูงใจให้เพิ่มเติมก็น่าจะขอ Consent มาได้ไม่ยาก
ในยุคที่การแข่งขันสูงขนาดนี้ หากองค์กรอยากพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้มากกว่าคู่แข่ง พรบ.นี้ก็ถือว่าเข้ามาช่วยทำคะแนนได้อีก ! หากธุรกิจคุณยังทำ Cold Call อยู่ ต้องอ่านอีกบทความด้วยค่ะ เพราะมันจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจคุณโดยตรง
เรายังมีบทความเกี่ยวกับ PDPA ที่น่าสนใจอีกมาก คลิกอ่านได้เลยค่ะ
- Cold Call จะรอดหรือไม่ ในยุค PDPA https://www.analytist.co/blog/cold-call/
- PDPA for consumers https://www.analytist.co/blog/pdpa/
- PDPA for CEOs https://www.analytist.co/blog/pdpa-ready/
- PDPA for Marketers https://www.analytist.co/blog/pdpa-for-marketer/
ข้อมูลกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม
อายุ :
กว่า 80% เป็นเจน X และ Y ที่อายุ 30-49 ปี
10% อายุ 20-29 ปี และ 7% อายุ 50-59 ปี
อีก 1% ต่ำกว่า 20 ปี และ 1% 60 ปีขึ้นไป
อาชีพ :
50% เป็นพนักงานบริษัทเอกชน, 24% อาชีพอิสระ,
10% เป็นเจ้าของกิจการ, 10% รับราชการ,
2% เป็นผู้บริหารระดับสูง และ 1% นักศึกษา
ที่อยู่ :
เป็นชาวกทม 58%
และอีก 12 จังหวัดทั่วไทย อาทิ เช่น เชียงใหม่, นครสวรรค์, ระยอง, สงขลา, นครปฐม, เชียงราย เป็นต้น
พฤติกรรมการบริโภค :
กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 64% ช็อปออนไลน์มากกว่า 10 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา และ 64% มีการสมัครบัตรสมาชิก/บัตรต่างๆที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว 1-10 ครั้ง
มาร่วมกัน Building insightful decision-making culture
หากคุณกำลังวางแผนสิ่งใด จงใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อมูล ? ปรึกษาพวกเราได้ค่ะ
CONTACT US
Have fun discovering !
Analytist Team
Share
Related Posts
February 16, 2021
ข้อควรรู้ก่อนเล่น Clubhouse
Clubhouse กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก และทุกคนก็ชอบในประโยชน์ของแอพมาก……
December 22, 2020
Data Marketing Trends in 2021
สำรวจ Data Marketing Trends ที่กำลังจะมา (หรือมาแล้ว)……
December 22, 2020
พุ่งตัวเข้าสู่ New Normal ปกป้องยอดขายจากภัย COVID-19 ด้วย Data
นักการตลาดที่ดี “ต้องปรับตัวได้ไว” โดยเฉพาะในยุค New Normal กับสถานการณ์โลกที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในทุก ๆ……
December 14, 2020
Hyper-Personalization การตลาดทำน้อย แต่ได้มาก!
Growth.AI สร้างทั้ง Segment และแคมเปญ ได้ภายใน 5 นาที ในเพียงไม่กี่คลิกก็คลิกเปิด-ปิด…
December 14, 2020
Understanding Your Customer Attrition Rate (CAR)
หากคุณเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า และแบ่งกลุ่มลูกค้าได้เหมาะสม คุณก็จะทราบได้ว่าลูกค้ากลุ่มที่หายไปนั้น…
November 29, 2020
จาก “รู้จัก” เป็น “รู้ใจ” ทำอย่างไรให้ลูกค้าตกหลุมรักแบรนด์คุณ
ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นโฆษณาจะคลิก และ……