Customer Attrition Rate (CAR) คืออะไร
ในยุคสมัยปัจจุบันที่ Brand Loyalty กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ตัดขาดออกจากกัน เมื่อทุกคนพร้อมที่ทดลองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่น เมื่อพบกับแบรนด์ใหม่ โปรโมชั่นที่ดีกว่า แคมเปญการตลาดที่จูงใจ หรือแม้กระทั่งการแนะนำจากคนรู้จักไปจนถึง Influencer โซเชียลมีเดีย
ก็ควรต้องย้ำกฏสำคัญ 2 ข้อที่นักการตลาดและผู้บริการแบรนด์ทุกคนทราบกันดี
- การหาลูกค้าใหม่ ใช้ความทุ่มเทมากกว่าการรักษาลูกค้าเก่าเป็นอย่างมาก
- เมื่อลูกค้าเปิดใจให้กับแบรนด์อื่นแล้ว เป็นความเสี่ยงที่เขาจะไม่กลับมาหาเราอีก
Customer Attrition Rate (Chun Rate)
อัตราสูญเสียลูกค้า (Customer Attrition Rate) นี้เราอาจเคยได้ยินกันในนามของ Churn Rate คือการคำนวณอัตราส่วนที่แบรนด์สูญเสียลูกค้า ให้กับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการอื่นๆ เมื่อเทียบกับจำนวนคนลูกค้าที่เป็นลูกค้าอย่างต่อเนื่อง (Active Customers) จึงเป็นสิ่งที่นักการตลาด และผู้ดำเนินการธุรกิจทุกคนควรให้ความสำคัญ เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าปันใจให้กับแบรนด์อื่น เพื่อที่จะทดลอง ค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แตกต่าง หรือดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราว หรือการเปลี่ยนถาวรก็อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างแน่นอน และอาจบ่งบอกถึงความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ แบรนด์ หรือธุรกิจคุณได้อย่างมีนัยยะอีกด้วย
วิธีคำนวณ Customer Attrition Rate อาจมีหลายวิธี ซึ่งแตกต่างกันโดยประเภทธุรกิจหรือจุดชี้วัดการ ‘จากไป’ ของลูกค้า โดยกำหนดช่วงเวลาการวัดจาก “Churn Window” หรือระยะเวลาที่อ้างอิงตามอัตราเฉลี่ยในการซื้อสินค้า/บริการของแบรนด์คุณ (Average Purchase Cycle)
แล้วทำไมถึงสำคัญ?
Customer Attrition หรือ Churn Rate นั้นสามารถช่วยให้เราคำนวณ Customer Retention Rate และ Customer Lifetime Value ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการวัดผลสำเร็จของแบรนด์อีกเช่นกัน และการวัดผล Customer Attrition Rate อย่างต่อเนื่องนั้นยังสามารถทำให้เราคาดการณ์อัตราที่ลูกค้าจะจากไปได้อีกด้วย
ลูกค้าแต่ละคน ในแต่ละ Segment ก็ไม่เหมือนกัน
หากคุณเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า และแบ่งกลุ่มลูกค้าได้เหมาะสม คุณก็จะทราบได้ว่าลูกค้ากลุ่มที่หายไปนั้น จะหายไปนานเท่าไหร่ และเขาจะไปจากเราจริงๆ หรือเดี๋ยวก็คงกลับมา?
ลูกค้าบางคนหายไปเป็นการชั่วคราวเพราะเป็นผู้บริโภคประเภท “Trailists” (คนที่ชอบลองของใหม่) หากสินค้าหรือบริการของคุณมีปัญหา ก็อาจถูกนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ลูกค้ากลุ่มนี้ทยอยไป “ทดลอง” หากเจอสิ่งที่ดีกว่า เขาอาจเลือกที่จะเปลี่ยนแบรนด์ไปเลยก็ได้
การเน้นคุณภาพและมาตรฐานที่ดี รวมถึงการเน้นความเป็นลูกค้าต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเก็บลูกค้ากลุ่มนี้ไว้กับแบรนด์คุณ
บางกลุ่มอาจจะเป็นคนที่ผิดหวังจากแบรนด์หรือประสบการณ์ของแบรนด์คุณ (Lost Customers) ก็ต้องเข้าใจว่าเขาเลือกที่จะจากไปด้วยเหตุผลอะไร ใช้งบการตลาดมหาศาลก็อาจไม่สามารถนำพาเขากลับมาได้ หรือบางเคสถ้าแก้ได้ตรงจุดก็ทำได้นะ (เป็นส่วนน้อยหรือ Exceptional Cases จริงๆ)
Churn Prediction (Propensity to Churn) เข้าใจไว้…ป้องกันลูกค้าหายให้ดี
การคาดการณ์อัตราสูญเสียลูกค้า (Churn Prediction) ทำให้เราสามารถวางแผนป้องกันไม่ให้สูญเสียลูกค้าจากแบรนด์ไปตั้งแต่แรก ด้วยการตลาดเชิงรุกสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการวาง touchpoints และ interaction ต่างๆ ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าแบบมีนัยยะ (มีความหมาย และมีประโยชน์)
“Successfully predicting customer attrition – and proactively preventing it – represents a huge additional potential revenue source for most businesses.”
ในเมื่อเรามีเวลาและงบประมาณจำกัด ควรมุ้งเน้นที่การทำ Cross/Upselling เพื่อสร้างมูลค่ากับกลุ่มลูกค้า และ Customer Retention เพื่อรักษาลูกค้ากลุ่มสำคัญ โดยดูจากคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละ Segment ด้วย Customer Lifetime Value และ Propensity to Churn
อย่างเช่นลูกค้าที่มี Customer Lifetime Value (มูลค่าของลูกค้าตลอดระยะความสัมพันธ์) สูงๆ แต่อัตราการซื้อไม่ค่อยถี่ ต้องเน้นการเสนอสินค้าหรือบริการให้เกิด action ที่เชื่อมโยงกับแบรนด์ ส่วนลูกค้าที่ LTV สูงแต่มีความเสี่ยงที่จะจากไปอาจเร่งเกมรุกรักษาความรู้สึก ด้วยแคมเปญสิทธิพิเศษ ข้อความขอบคุณที่เป็นลูกค้าชั้นดีมาตลอด หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ลูกค้ารู้สัมผัสได้ว่า ‘จากไปแล้วจะเสียโอกาส’
การทำ Churn Prediction (Propensity to Churn) และการควบคุม Attrition Rate จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญและอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันเงินมหาศาลไม่ให้ไหลออกจากธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณ ช่วยประหยัดการลงทุนในการหาลูกค้าใหม่ รวมไปถึงการลงทุนเพื่อชักจูงหรือแนะนำคนใหม่ๆ ให้มารู้จักและทดลองผลิตภัณฑ์ของคุณ
คำถามสำหรับวันนี้
- ค่าเฉลี่ย Customer Attrition Rate ของแบรนด์คุณคือเท่าไหร่?
- มีความแตกต่างระหว่างประเภทผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจำหน่ายหรือไม่?
- คุณทราบเหตุผลเบื้องหลัง Customer Attrition Rate ของแบรนด์ไหม?
- มีการวัดผลต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น ทุกช่องทาง และลูกค้าทุกคนหรือยัง?
ทั้งหมดนี้…ใช้ Data แบบต่อเนื่องและมหาศาล
ถ้าไม่เริ่มเก็บให้ถูกต้องตั้งแต่ตอนนี้…เผลออีกทีอาจไม่มีลูกค้าอาจให้เก็บข้อมูลแล้วก็ได้นะ!
มาร่วมกัน Building insightful decision-making culture
หากคุณกำลังวางแผนสิ่งใด จงใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อมูล ? ปรึกษาพวกเราได้ค่ะ
CONTACT US
Have fun discovering !
Analytist Team
Share
Related Posts
February 16, 2021
ข้อควรรู้ก่อนเล่น Clubhouse
Clubhouse กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก และทุกคนก็ชอบในประโยชน์ของแอพมาก……
December 22, 2020
Data Marketing Trends in 2021
สำรวจ Data Marketing Trends ที่กำลังจะมา (หรือมาแล้ว)……
December 22, 2020
พุ่งตัวเข้าสู่ New Normal ปกป้องยอดขายจากภัย COVID-19 ด้วย Data
นักการตลาดที่ดี “ต้องปรับตัวได้ไว” โดยเฉพาะในยุค New Normal กับสถานการณ์โลกที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในทุก ๆ……
December 14, 2020
Hyper-Personalization การตลาดทำน้อย แต่ได้มาก!
Growth.AI สร้างทั้ง Segment และแคมเปญ ได้ภายใน 5 นาที ในเพียงไม่กี่คลิกก็คลิกเปิด-ปิด…
November 29, 2020
จาก “รู้จัก” เป็น “รู้ใจ” ทำอย่างไรให้ลูกค้าตกหลุมรักแบรนด์คุณ
ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นโฆษณาจะคลิก และ……
November 21, 2020
“Data” ที่ว่ามีมากๆ ยังมีอีกไหม…ที่เราไม่ได้นำมาใช้งาน?
Website Analytics คงไม่ใช่ทุกอย่าง และตอบทุกคำถามที่เรามีได้ แหล่งข้อมูลหรือขุมทรัพย์อื่นๆ "Data"…